นโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา
คณะวิทยาศาสตร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา โดยเริ่มจากการแต่งตั้งคณะกรรมการหาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนและการวิจัยขึ้น เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2539 เพื่อปูแนวคิดการประกันคุณภาพการศึกษาแก่คณาจารย์ในคณะฯ และวางแนวทางพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนและการวิจัยซึ่งเป็นภารกิจหลัก ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อคณะกรรมการดังกล่าวเป็นคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา และได้เข้าร่วมโครงการศึกษาและพัฒนาระบบประกันคุณภาพระดับอุดมศึกษาของทบวงมหาวิทยาลัยร่วมกับคณะวิชาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ 20 คณะวิชา (5 สาขาวิชา) เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในระยะเริ่มต้น และเมื่อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้ประกาศนโยบายและแนวทางในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ตามสาระของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แล้วจัดทำเป็นคู่มือประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อ สิงหาคม 2544 คณะวิทยาศาสตร์จึงได้กำหนดระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ของคณะฯ ตามกรอบนโยบายและแนวทางของมหาวิทยาลัย และในปี 2545 คณะฯ ได้มีโอกาสเข้าร่วมโครงการนำร่องการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาไทย โดยกระบวนการเทียบเคียงสมรรถนะ (Benchmarking) ซึ่งจัดโดยทบวงมหาวิทยาลัย ร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ โดยมี 10 คณะวิชา 6 มหาวิทยาลัย เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ทำให้คณะฯ มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านประกันคุณภาพกับหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าว
สำหรับนโยบายและแนวทางในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา คณะฯ กำหนดไว้ดังนี้
นโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา
- ให้ภาควิชา/หน่วยงาน ดำเนินการประกันคุณภาพทั่วทั้งองค์กร
- ใช้ 11 องค์ประกอบคุณภาพต่อไปนี้ เป็นแนวทางในการสร้างระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายใน
องค์ประกอบที่ 1 ปรัชญา/ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ และแผนงาน
องค์ประกอบที่ 2 การเรียนการสอน
องค์ประกอบที่ 3 กิจกรรมพัฒนานักศึกษา
องค์ประกอบที่ 4 การวิจัย
องค์ประกอบที่ 5 การบริการวิชาการแก่สังคม
องค์ประกอบที่ 6 การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
องค์ประกอบที่ 7 การบริหารจัดการ
องค์ประกอบที่ 8 การเงินและงบประมาณ
องค์ประกอบที่ 9 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ
องค์ประกอบที่ 10 ความสัมพันธ์ของคณะฯ กับสังคมและชุมชนภาคใต้
องค์ประกอบที่ 11 วิเทศสัมพันธ์
- ให้มีระบบประเมินคุณภาพภายใน ทั้งระดับภาควิชา/หน่วยงาน และระดับคณะ
- พัฒนาบุคลากรด้านคุณภาพ โดยเน้น 2 ด้าน คือ การสร้างระบบและกลไกประกันคุณภาพ และการประเมินคุณภาพภายใน
- วิจัยควบคู่กับการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง สู่การพัฒนาคุณภาพที่ยั่งยืน
- เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพจากภายนอก
แนวทางการดำเนินงาน
- เสริมสร้างความเข้าใจและประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรทุกระดับใน คณะวิทยาศาสตร์ เห็นความสำคัญและความจำเป็นในการประกันคุณภาพการศึกษา
- กำหนดคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ กำหนดองค์ประกอบ จำเป็นในการผลิตเพื่อให้ได้บัณฑิตที่พึงประสงค์
- กำหนดให้มีหน่วยงาน/คณะกรรมการทำหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบ การประกันคุณภาพการศึกษา เผยแพร่ประชาสัมพันธ์
- ศึกษาสถานภาพการประกันคุณภาพการศึกษาในคณะฯ จัดกิจกรรมเสริมเมื่อดำเนินการไประยะหนึ่ง เพื่อนำผลมาพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
- จัดให้มีระบบการตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานตามระบบ